ลักษณะทั่วไปของปรัชญาอินเดีย

   ลักษณะทั่วไปของปรัชญาอินเดีย
   ปรัชญาของชาติหนึ่งก็คือวัฒนธรรมและอารยธรรมของชาตินั้น เพราะเป็นผลที่เกิดจากแนวความคิดของคนในสังคม และคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นยอมนับนับถือแล้วนำมาเป็นแนวการดำเนินชีวิตของพวกตน แม้ปรัชญาของอินเดียจะมีมากหลายลัทธิและมีทัศนะแตกต่างกันก็ตาม แต่บรรดาทัศนะเหล่านั้นเราสามารถดึงเอาสิ่งที่เป็นเอกภาพอันมีอยู่ในทุกลัทธิ(ยกเว้นปรัชญากลุ่มวัตถุนิยม) ของปรัชญาออกมาให้เห็นชัดเจนได้ เอกภาพดังกล่าวนั้นก็คือ ลักษณะทางศีลธรรม ทัศนะที่สอดคล้องกันในเรื่องของชีวิตที่ว่ามนุษย์เกิดมาในโลกมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความทุกข์ การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของชีวิตที่สมบูรณ์ ลักษณะทั่วไปหรือลักษณะร่วมของปรัชญาอินเกียพอสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
      1.ปรัชญาอินเดียทุกระบบเป็นปรัชญาชีวิต จุดเด่นที่เป็นมูลฐานอันสำคัญของปรัชญาอินเดียทุกระบบที่คิดค้นกันมาก็เพื่อให้มนุษย์สามารถครองตน ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องมีชีวิตที่สมบูรณ์ และให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
   2.ปรัชญาอินเดียทุกระบบเกิดจากความไม่พอใจในสภาพที่เป็นอยู่ของชีวิต นักปรัชญาทั้งหลายที่คิดค้นหาสัจธรรมแล้วตั้งเป็นทฤษฎีทางปรัชญาของตนขึ้นมา ก็เกิดจากแรงกระตุ้นหรือแรงผลักดันของสภาพการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ประสบความทุกข์ ความเจ็บปวด และไม่พอใจกับสภาพการเป็นอยู่ในชีวิตของตน
   3.ปรัชญาอินเดียทุกระบบ (ยกเว้นกลุ่มปรัชญาวัตถุนิยม) เชื่อในกฎแห่งกรรม ความเชื่อในเรื่องกรรมและกฎแห่งกรรมนี้ ปรัชญาอินเดียประเภทจิตนิยมของอินเดียทั้งหมดต่างก็รับรองและเห็นพ้องต้องกันทั้งในลักษณะที่เป็นกฎแห่งกรรมสากลจักรวาลหรืกฎแห่งเหตุผล และในลักษณะที่เป็นกฎแห่งศีลธรรมด้วย
   4.ปรัชญาอินเดียทุกระบบ (ยกเว้นกลุ่มปรัชญาวัตถุนิยม) เชื่อว่าอวิทยาเป็นสาเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด อวิทยาหรืออวิชชาคือความไม่รู้แจ้ง ความหลงผิด ความมืดบอดเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้มนุษย์กระทำกรรมดี กรรมชั่วตราบใดที่มนุษย์ยังประกอบกรรมดี กรรมชั่วอยู่มนุษย์ก็จะต้องได้รับผลของกรรมที่ตนกระทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดเสวยผลกรรมอันเป็นสุขบ้างทุกข์บ้างตามสมควรแก่กรรมนั้นๆ โดยไม่มีวันสิ้นสุด
   5.ปรัชญาอินเดียทุกระบบ (ยกเว้นปรัชญาวัตถุนิยม) เชื่อว่าสมาธิและวิปัสสนาเป็นตัวนำไปสู่การรู้แจ้งเห็นจริง การเห็นสภาพตามความเป็นจริงตามทัศนะของปรัชญาอินเดียแตกต่างกันไปตามแนวความคิดของแต่ละสำนักปรัชญานั้นๆ กล่าวคือปรัชญาฮินดูสอนให้เห็นสภาพความเป็นจริงว่า มีพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดอยู่เพียงพระองค์เดียวคือ พระพรหม ซึ่งเป็นพระเจ้าผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในโลก พระเจ้าเป็นผู้ที่เป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่แท้จริง
    6.ปรัชญาอินเดียทุกระบบ (ยกเว้นปรัชญากลุ่มวัตถุนิยม) เชื่อว่าการควบคุมกายหรือจิตได้ก็สามารถบรรลุความสุข ตามทัศนะของปรัชญาอินเดียการที่มนุษย์ต้องประสบความทุกข์ทรมานนานัปการนั้นเป็นเพราะมนุษย์เป็นทาสของกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นสาเหตุให้ต้องกระทำ

   7.ปรัชญาอินเดียทุกระบบเชื่อว่าการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเป็นสิ่งเป็นไปได้ ปรัชญาอินเดียมีทัศนะว่า มนุษย์เกิดมาในโลกนี้มีชีวิตที่เต็มไปด้วยทุกข์ แต่ทุกข์มิใช่สิ่งที่ขจัดให้หมดไปได้ หากมนุษย์รู้แจ้งเห็นจริงในสภาพตามความเป็นจริง แล้วปฏิบัติตามหลักคำสอนของปรัชญาสำนักที่ตนเชื่อถือแล้วก็จะสามารถขจัดทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงการหลุดพ้นจากทุกข์สามารถมีได้ทั้งในชีวิตนี้และในชาติต่อไป

ที่มา : ทองหล่อ วงษ์ธรรมา.ปรัชาอินเดีย.กรุงเทพฯ:โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ , 2535

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น